แอมแปร์ VS แรงดันไฟฟ้า : อันตรายจากการโดนไฟฟ้าช็อต อันตรายแค่ไหน ดูกระแสไฟอย่างไร

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
กระแสไฟฟ้า

มีอันตรายมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า การเกิดอุบัติเหตุโดนไฟฟ้าช็อตอาจทำให้เกิดแผลไฟไหม้ได้อย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในและถึงแก่ชีวิตได้ โดยหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือในขณะที่คนส่วนใหญ่นึกถึงไฟฟ้าในแง่ของแรงดันไฟ แต่ด้านที่อันตรายที่สุดของไฟฟ้าช็อตกลับเป็นค่าแอมแปร์ (Amperage) หรือ ค่าปริมาณของประจุไฟฟ้า

แรงดันไฟฟ้า (Volt) VS แอมแปร์ (A./amp)

แรงดันไฟฟ้าและแอมแปร์ เป็นค่าวัดกระแสไฟฟ้าหรือการไหลของอิเล็กตรอน โดยแรงดันไฟฟ้าคือค่าแรงดันที่ช่วยให้อิเล็กตรอนไหล ในขณะที่แอมแปร์เป็นปริมาตรหรือจำนวนของอิเล็กตรอน ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ 1,000 โวลต์จะไม่อันตรายมากไปกว่ากระแสไฟฟ้าที่ 100 โวลต์ แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของค่าแอมแปร์สามารถให้ความแตกต่างระหว่างการมีชีวิตและความตายได้เมื่อคนโดนไฟฟ้าช็อต

แม้ว่าฟิสิกส์จะมีความซับซ้อน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เปรียบเทียบโดยใช้การไหลของกระแสในแม่น้ำเพื่ออธิบายหลักการของกระแสไฟฟ้า โดยในการเปรียบเทียบนี้

แรงดันไฟฟ้าจะเท่ากับความชันหรือความสูงของแม่น้ำ ในขณะที่ค่าแอมแปร์จะเท่ากับปริมาณของน้ำที่มีอยู่

กระแสไฟฟ้าที่มีไฟฟ้าแรงสูง แต่มีค่าแอมแปร์ต่ำจะสามารถเทียบได้กับแม่น้ำขนาดเล็กที่แคบมาก และไหลเกือบเป็นแนวดิ่ง ราวกับหยดน้ำเล็กๆ ของน้ำตก กระแสไฟฟ้าประเภทนี้จะมีอันตรายเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำมาก (จำนวนของค่าแอมแปร์มาก) อาจทำให้คุณจมน้ำแม้ว่าความเร็วของกระแสน้ำ (แรงดันไฟฟ้า) จะค่อนข้างไหลช้าก็ตาม

ดังนั้น ค่าแอมแปร์สามารถสร้างความเสี่ยงของอันตรายจากการโดนไฟฟ้าช็อตได้มากที่สุด

ผลของการโดนไฟฟ้าช็อตที่เกี่ยวข้องกับจำนวนค่าแอมแปร์

จำนวนค่าแอมแปร์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ ดังรายการต่อไปนี้ที่จะได้อธิบายผลกระทบที่พบบ่อยที่สุดจากการโดนไฟฟ้าช็อตที่ระดับแอมแปร์ต่างกัน ตามรายงานของสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา (OSHA)

OSHA
สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งสหรัฐอเมริกา

เพื่อให้แสดงให้เห็นถึงจำนวนของค่าแอมแปร์ที่จะส่งผลกระทบ โดย 1,000 มิลลิแอมแปร์ (mA) จะเท่ากับ 1 แอมแปร์ (หรือแอมป์) ซึ่งวงจรไฟฟ้าในครัวเรือนมาตรฐานในประเทศไทย ที่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับเต้ารับและสวิตช์ในบ้านของคุณจะมีค่าเริ่มต้นที่ 15 แอมแปร์หรือ 20 แอมป์ (15,000 หรือ 20,000 mA)

  • 1 ถึง 5 mA : มนุษย์จะรู้สึกถึงไฟฟ้าช็อตเล็กน้อย อึดอัดแต่ไม่เจ็บปวด
  • 6 ถึง 30 mA : มนุษย์จะช็อกอย่างเจ็บปวด สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ
  • 50 ถึง 150 mA : มนุษย์จะรู้สึกเจ็บปวดมาก ปฏิกิริยาของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นรุนแรง หยุดหายใจ และอาจถึงแก่ชีวิต
  • 1,000 mA ถึง 4,300 mA : หัวใจมนุษย์จะหยุดสูบฉีดเลือด เกิดความความเสียหายของเส้นประสาทและอาจถึงแก่ชีวิต
  • 10,000 mA (10 แอมป์) : หัวใจมนุษย์จะหยุดเต้น เกิดแผลไฟไหม้รุนแรง และเสียชีวิตทันที

ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณทราบถึงระบบสายไฟภายในบ้านว่า สามารถมีอันตรายได้มากเพียงใด โดยที่สายไฟภายในบ้านจะมีกระแสไฟฟ้าค่ามาตรฐานอยู่ที่ 15,000 หรือ 20,000 mA

อันตราย ไฟฟ้าแรงสูง

วิธีอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย

วิธีป้องกันไฟฟ้าช็อตที่ดีที่สุดคือ การปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยของมาตรฐานสำหรับการใช้งานไฟฟ้า โดยรายละเอียดดังต่อไปนี้คือกฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญ :

  • ปิดเครื่อง: ปิดการไหลของกระแสไฟฟ้าให้กับวงจร หรืออุปกรณ์ที่คุณจะเข้าตรวจสอบหรือต้องทำงานเกี่ยวกับส่วนประกอบภายในของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น วิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือการปิดเบรกเกอร์สำหรับปิดวงจรไฟฟ้าของบ้าน โดยสามารถปิดได้ที่กล่องเบรกเกอร์
  • ทดสอบกำลังไฟฟ้า: หลังจากปิดเบรกเกอร์แล้ว ให้ตรวจสอบสายไฟหรืออุปกรณ์ที่คุณจะเข้าใช้งานด้วยเครื่องทดสอบแรงดันไฟฟ้าแบบไม่สัมผัส เพื่อยืนยันว่าได้ปิดการไหลของกระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งนี้เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าคุณได้ปิดวงจรไฟฟ้าถูกต้องแล้ว
  • ใช้บันไดหุ้มฉนวน: ห้ามใช้บันไดอะลูมิเนียมสำหรับงานไฟฟ้าเด็ดขาด จะต้องใช้บันไดไฟเบอร์กลาส-บันไดไม้ ที่มีฉนวนหุ้มเสมอเพื่อให้คุณปลอดภัยระหว่างการทำงาน
  • อยู่ในที่แห้ง: หลีกเลี่ยงพื้นที่เปียกเมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้า หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น คุณต้องทำงานในพื้นที่กลางแจ้งที่พื้นชื้นหรือเปียก ให้สวมใส่รองเท้าบูทยาง และถุงมือเพื่อลดโอกาสที่จะโดนไฟฟ้าช็อต โดยต่อเครื่องมือไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับเต้ารับ GFCI (ตัวขัดขวางวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร) หรือต่อสายไฟเข้ากับ GFCI และเช็ดมือให้แห้งก่อนจับสายไฟทุกครั้ง
  • ติดป้ายเตือน: หากคุณกำลังทำงานที่เกี่ยวข้องกับแผงวงจรไฟฟ้า ให้ติดป้ายเตือนที่ด้านหน้าของแผงควบคุมไฟฟ้า เพื่อเตือนผู้อื่นไม่ให้เปิดวงจร และให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครสัมผัสกับตัววงจรระหว่างที่คุณกำลังทำงาน
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
PKT Pocket.

PKT Pocket.

บริษัท พีเคที พ็อกเก็ต จำกัด

บทความที่น่าสนใจ